ตั้งคณะวางแผนระบบเพื่เป็นแม่พิมพ์ให้กับ ร.ร. เอกชน

‘สช.’ ตั้งคณะทำงานวางระบบช่วยแม่พิมพ์ร.ร.เอกชน ขอ ‘ตั๋วครูชั้นสูง’

เมื่อวันที่ 31 มกราคม นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.)
ที่มี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมเห็นชอบ ร่าง ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียน พ.ศ. … เป็นการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา
ที่อนุมัติให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็ก ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1 – 40 คน ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 36 บาท/คน/วัน, โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41 – 100 คน ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 27 บาท/คน/วัน, โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101 – 120 คน
ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 24 บาท/คน/วัน และ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 121 – คนขึ้นไป ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 22 บาท/คน/วัน เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวัน
และสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการ แต่ในส่วนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีโรงเรียนที่หลากหลาย
จำเป็นที่จะต้องออกประกาศเพื่อกำหนดขนาดของโรงเรียนให้ชัดเจน

นายมณฑล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าว ได้ปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพการทำงานในปัจจุบัน จากเดิมการเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวันให้โรงเรียนเอกชน
จะดำเนินการผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่ปัจจุบันเรามีศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) แล้ว ดังนั้น ในประกาศฉบับใหม่ ก็จะปรับการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนอาหารกลางวันไปที่
ศธจ.​เพื่อให้ ศธจ.กระจายให้โรงเรียนเอกชนในพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ สช.จะดำเนินการปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อนำเงินมาสนับสนุนค่าอาหารกลางวันให้นักเรียนในสังกัด สช.
ตามประกาศฉบับใหม่ต่อไป เบื้องต้น สช.จะต้องเพิ่มเงินอุดหนุนอาหารกลางวัน ตามอัตราใหม่ที่ ครม.อนุมัติ ประมาณ 103 ล้านบาท

เลขาธิการ กช. กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ฝากให้ สช. ไปดูเรื่อง ใบประกอบวิชาชีพครู

เพราะตามข้อบังคับคุรุสภา ว่า ด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565 ที่แบ่งใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู เป็น 3 ระดับ คือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง ที่อาจจะกระทบกับโรงเรียนเอกชน เนื่องจาก ข้อบังคับคุรุสภา กำหนดไว้ว่า ผู้ที่ยื่นคำขอมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นสูง ได้จะต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และมีวิทยฐานะตั้งแต่ระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ซึ่งส่งผลกระทบกับครูโรงเรียนเอกชน เพราะครูเอกชน ไม่มีวิทยฐานะเหมือนกับครูของรัฐ

“ที่ผ่านมาผมได้หารือกับ นางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภาแล้ว ซึ่งทางคุรุสภาได้เสนอแนวทางและแนะนำให้ สช.ไปพิจารณาวางเกณฑ์ใหม่ โดยให้ดูว่าควรจะมีเกณฑ์ใดบ้างที่จะทำให้ครูเอกชนสามารถนำไปเทียบระดับชำนาญการของครูรัฐได้ ซึ่ง สช.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อวางระบบประเมินให้ครูเอกชน เพื่อให้ครูเอกชนสามารถนำผลประเมินนี้ ไปเทียบกับระบบวิทยฐานะและยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นสูงได้ ” นายมณฑล กล่าว

การศึกษา

เรียกคืนงบ 4 แสน จากกรณี คณะครูไปดูงานแต่โผล่ชิลกลางทะเล

4 ปี ฟันแล้ว ปมทริปคณะครูไปดูงานแต่โผล่ชิลกลางทะเล เรีย […]

อ่านต่อ ...
การศึกษา

สศร. หนุนให้วงดนตรีร่วมสมัย ขึ้นโชว์ที่เวทียุโรป

นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรม […]

อ่านต่อ ...
การศึกษา

ตรีนุช แจ้งหน่วยงาน ปลดป้ายรัฐมนตรี หวั่นผิดกฎ

‘ตรีนุช’ แจ้งหน่วยงานในสังกัด ศธ.ปลดป้ายรัฐมนตรี หวั่นผ […]

อ่านต่อ ...