
อว.ผนึกสมาคมมหา’ลัย-บพท.หนุนอาจารย์ขับเคลื่อนงานวิจัยพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวในการแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand Annual Conference 2022 ที่โรงแรมเรือรัษฎา จ.ตรัง ว่า สนับสนุนเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคม
หมายความว่ามหาวิทยาลัยต้องไม่ใช่มุ่งการสอนอย่างเดียว แต่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมด้วย ทั้งปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ เชิงท้องที่ เชิงท้องถิ่น เชิงสังคม เชิงชุมชน ตั้งแต่ชุมชน ตำบล หมู่บ้านเมือง0
จนถึงมหานครก็ได้ ซึ่งมีประโยชน์มาก อยากให้เกิดวิจัยแบบไปห้าง หรือไปสู่ชุมชน หรือไปสู่ธุรกิจ แต่ทำโดยเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ ของธุรกิจเอง วิสาหกิจ หรือกับชุมชน ซึ่งมีพลังมากกว่า
และต้องไม่เก็บตัวอยู่ในหอคอยงาช้างอีกต่อไป ต้องพร้อมออกไปเรียนรู้จากวิกฤต เรียนรู้จากปัญหา แล้วเอาประสบการณ์กลับเข้ามายังมหาวิทยาลัย สร้างความรู้ที่สูงกว่าเดิมอีก
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม กล่าวบรรยายหัวข้อเรื่อง “บทบาทของสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”ว่า
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กับแนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในการพัฒนาประเทศ โจทย์ใหญ่ที่สุดคือกระบวนการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ ในการสร้างคน ความรู้ และนวัตกรรม
ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศที่พัฒนาแล้วในประชาคมโลก ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้พัฒนาวิธีคิด วิธีการร่วมคิด ร่วมทำระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอก ทั้งรัฐ เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ในลักษณะที่มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งจำเป็นต้องสร้างกระบวนการคิด ทำ และใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ได้ผลลัพธ์ ผลกระทบที่ดี
โดยเฉพาะผลกระทบด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ของสหประชาชาติ ซึ่งสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ได้นำมหาวิทยาลัยไทยเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2562
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวบรรยายหัวข้อ “ความสำเร็จของ บพท.ในการบรรลุเป้าหมาย SDGs” ว่า นับเป็นความสำเร็จ
ของงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน โดยมี บพท.เป็นกลไกสำคัญ สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนพื้นที่ผ่านการจัดการหน่วย บพท.สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ทุนวิจัย และการจัดการเป็นเครื่องมือ
ไม่ใช่หน่วยที่ให้ทุนแล้วจบลงแค่การตรวจรับรายงานการวิจัย แต่จะวัดที่รูปธรรมการเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์สุดท้าย ฉะนั้น ทุกมหาวิทยาลัยต้องปรับตัว เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายสำคัญ คือการกระจายความเจริญ
และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่นด้วยความรู้ และนวัตกรรม โดยต้องมองเชิงยุทธศาสตร์ ต้องออกแบบเชิงกลยุทธ์ ออกแบบงานเชิงระบบ ทำด้วยกลไกความร่วมมือผ่านการเรียนรู้
และเปลี่ยนแปลงจนถึงระบบคิดและพฤติกรรม