เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย
นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมหารือกับ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงแนวทางการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชน ทั้งในระบบและนอกระบบ
ที่ดำเนินกิจการได้ด้วยการเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
พร้อมด้วยผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้าร่วมด้วย
รมว.ศธ. เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกัน ถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของโรงเรียนเอกชน ทั้งในระบบและนอกระบบ
ตลอดทั้งข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งทาง รมว.กค. และที่ประชุมรับทราบ และเห็นชอบในหลักการให้โรงเรียนเอกชน
ที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมอื่น ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุน 70% โรงเรียนเอกชนที่ไม่รับเงินอุดหนุน
ทั้งประเภทสามัญ โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพ โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทศิลปะและกีฬา
โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต สามารถเข้าสู่มาตรการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)
พร้อมมอบให้ทาง สช.ไปหารือในรายละเอียดกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนสำรวจความต้องการสินเชื่อดังกล่าว
โดยสินเชื่อฟื้นฟู ดังกล่าว จะให้กู้ได้ ไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 2% และในระยะเวลา 6 เดือนแรก
รัฐบาลจะช่วยเหลือด้วยการจ่ายดอกเบี้ยแทน โดยมี บสย.เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อเลขาธิการ กช. กล่าวตอนหนึ่งว่า
ขอให้โรงเรียนเอกชนที่สนใจ ศึกษารายละเอียดล่วงหน้า ศึกษาได้ที่
https://www.bot.or.th/…/content/sme/Pages/fin-rehab.aspx ซึ่งขณะนี้ตน
กำลังประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อนัดประชุมชี้แจงผ่านระบบ Zoom และจะดำเนินการสำรวจผู้สนใจ
เข้าร่วมโครงการในเร็ว ๆ นี้