กินผักได้ปลอดภัยประโยชน์ได้เต็ม ๆ

การกินผักและผลไม้ จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันโรค
และความเสื่อมสภาพของเซลล์ แต่ถ้าจะให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะเลือกรับประทานผักและผลไม้ให้ถูกวิธี
ซึ่งมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง ดังนี้

1. ผักตามฤดูกาล ช่วยลดเสี่ยงสารเคมี
กินผักตามฤดูกาล นอกจากจะได้ประโยชน์จากผักที่เติบโตตามธรรมชาติ โตในช่วงเวลาที่มีศัตรูธรรมชาติน้อย
เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ผักนั้นก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงตามธรรมชาติ และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์เต็มที่
แถมยังซื้อหาได้ง่ายราคาไม่แพง และการกินผักที่เปลี่ยนไปตามช่วงฤดู ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายเช่นกัน

ฤดูร้อน (มีนาคม – พฤษภาคม)
ฟักทอง มะเขือเปราะ เห็ดฟาง แตงกวา ใบแมงลัก ใบเหลียง หอมหัวใหญ่ มะระ แตงโมอ่อน บีทรูท กระเจี๊ยบเขียว ผักหวานป่า
คะน้า กะเพรา ถั่วพู มะเขือเทศ มะนาว มะเขือพวง ถั่วฝักยาว

ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)
มะเขือพวง กระเจี๊ยบเขียว ขิงข่า ผักบุ้งจีน ผักแว่น ผักโขม ดอกโสน ฝักเขียว ผักหวานบ้าน ตำลึง ใบบัวบก ชะอม น้ำเต้า กะเพรา
ผักกูด หัวปลี สะระแหน่ ถั่วฝักยาว หน่อไม้ มะเขือส้ม ผักบุ้งนา ดอกขจร มะนาว สายบัว กุยช่ายดอก กุยช่ายใบ ผักปลัง

ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์)
ตะลิงปลิง ผักสลัด ผักกาดหอม ดอกแค สะเดา กวางตุ้ง ปวยเล้ง มะรุม ผักปลัง ผักชี คะน้า กะเพรา ดอกกะหล่ำ
กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา แครอท พริกหวาน ลูกเหรียง ผักกาดขาว

อาหาร

2. ผักพื้นบ้าน
ผักพื้นบ้านก็คือพืชพรรณที่สามารถพบเจอได้ในทั่วไปในแต่ละท้องที่ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของผักพื้นบ้านแต่ละชนิด การกินผักพื้นบ้านที่มีความหลากหลาย และมักเป็นผักที่แข็งแรง
ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน ไม่ผ่านกระบวนการผลิตจำนวนมากๆที่ทำให้เราต้องเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีในการปลูก
ที่สำคัญคือผักพื้นบ้านของไทยล้วนมีรสชาติอร่อย มีคุณค่าทางอาหารสูง หลายชนิดมีสรรพคุณทางยา
ช่วยป้องกันโรคได้ และยังหารับประทานง่ายราคาก็แสนจะถูก เช่น กระถิน ขี้เหล็ก แค ตําลึง มะเขือพวง เป็นต้น

อาหาร

3. ล้างผักให้ปราศจากสารตกค้าง
การกินผักเป็นประจำส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือปัญหาการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง
ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ที่อาจติดมากับปุ๋ยและดิน
เพื่อความปลอดภัยเราจึงควรใส่ใจเป็นพิเศษในการล้างผักให้สะอาด ทำให้เป็นประจำจนเคยชิน เพราะทำได้ง่าย
สามารถช่วยลดสารพิษและสิ่งปนเปื้อนต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

วิธีง่าย ๆ เลือกทำได้ตามวิธีนี้เลยคะ
1. ล้างด้วยน้ำไหล โดยแช่ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านและคลี่ใบผักถูไปมานาน 2 นาที หรือ
2. แช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด
3. การใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด และ
4. น้ำยาล้างผักที่จำหน่ายโดยทั่วไปนำมาผสมน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุในฉลากแช่ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาทีแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

อาหาร
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/organic-farm-vegetables-78920/

4. เลือกซื้อผักจากแหล่งที่ปลอดภัย
ในปัจจุบันมีการปลูกผักปลอดสารพิษออกมาจําหน่ายในท้องตลาดมากมาย เราสามารถเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ
จากแหล่งที่ไว้ใจได้ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ทราบที่มาของการผลิต เช่น ผักอนามัย รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร ,
ผักเกษตรอินทรีย์ เป็นผักที่ปลูกโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกําจัดโรคและแมลงเลย
โดยมีสํานักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นผู้รับรอง , ผักระบบ CSA , เลือกจากร้าน/ตลาดเขียว หรือถ้าต้องซื้อผักจากร้านค้าทั่วไป
ควรระวังผักที่มีคราบขาวของสารเคมี สังเกตตามซอกใบของผักชนิดต่างๆ ว่ามีความผิดปกติ เช่น
เขียวสดเกินไป อยู่นานหลายวันแต่เหี่ยวช้ากว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่ เป็นต้น

อาหาร

5. ปลูกผักกินเอง
การปลูกผักไว้รับประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราและคนในครอบครัวได้บริโภคผักที่ปลอดจากสารพิษ
แถมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย มีกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัว ทำให้ที่พักอาศัยดูร่มรื่นน่าอยู่อีกด้วย

Stir Fried Gourami Fish with Chili Paste
อาหาร

ปลาสลิดผัดพริกแกง รสจัดจ้าน ทานได้เรื่อยๆ

ปลาสลิดผัดพริกแกง อาหารไทยอร่อยๆ ทำอย่างไร ให้อร่อย ปลา […]

อ่านต่อ ...
Steamed Eggs in Fresh Milk
อาหาร

ไข่ตุ๋นนมสด ไข่แบบนุ่มละมุน พร้อมรสกลมกล่อม

ไข่ตุ๋นนมสด อาหารแบบง่ายๆธรรมดา แต่ความอร่อยไม่เหมือนใค […]

อ่านต่อ ...
Stir Fried Crab with Black Pepper
อาหาร

ปูผัดพริกไทยดำ ผัดกระทะหอมๆ เครื่องเน้นๆ

ปูผัดพริกไทยดำ เมนูอาหารง่ายๆ สำหรับวันนี้ พร้อมเคล็ดลั […]

อ่านต่อ ...