หากจะกล่าวถึงอารยธรรมของชาวเมโสโปเตเมียก็จะพาลนีกกันไปถึงอารยธรรมที่มีความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรม และสิ่งหนึ่งที่ถูกทิ้งไว้ให้คนในปัจจุบันต้องสงสัยกัน
นั้นก็คือ อุปกรณ์ที่มีรูปร่างคล้ายกับขวดหรืออะไรสักอย่างที่มีรูปทรงคล้ายกับแจกัน โดยข้างในนั้นก็มีแท่งทองแดงเสียบไว้อยู่ ซึ่งหากพิจารณาให้ดีๆ จะพบว่าสิ่งดังกล่าวมีหลักการคล้ายกันกับแบตเตอรี่ที่เราใช้เป็นแหล่งพลังงานกันในทุกวันนี้
แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ที่แบตเตอร่ได้มีการคิดค้นและใช้งานตั้งแต่ครั้งอดีต เพราะแบตเตอรี่พึ่งจะถูกพัฒนาและมีมาให้ใช้เพียงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง นับว่าเป็นอีกหนึ่งปริศนาที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้
แบตเตอรี่โบราณ แบกแดด อายุกว่า 2,000 ปี ขุดค้นพบโดยชาวเยอร์มัน ชื่อ Wilhelm Knig ในปี 1938 ที่หมู่บ้าน Khuyut Robbou’a ใกล้เมือง แบกแดด( Baghdad ) ประเทศอิรัก คาดว่า แบตเตอรี่โบราณนี้สร้างขึ้นใน ยุคเมโสโปเตเมีย ( Mesopotamia ) ในช่วง Parthian หรือ Sassanid!!! นั่นมันนานมาแล้วนะเนี่ย
แบตเตอรี่โบราณ แบกแดด ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจได้ที่ have-a-look.net มีลักษณะเป็น ไหดินเหนียวภายในบรรจุด้วยท่อทองแดง?มีแท่งเหล็กใส่ไว้ ปากไห อุดไว้ด้วย ยางมะตอย ภายในไหจะใส่ของเหลวที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู
โดยเมื่อของเหลวที่มีความเป็นกรด สัมผัสกับทองแดง และ เหล็ก จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น แบตเตอรี่โบราณ แบกแดดสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ 1.5 – 2 โวลท์ เท่านั้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าขนาดนี้ ไม่มากพอจะใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ใดๆได้
จึงไม่มีข้อสรุปว่า แบตเตอรี่โบราณ แบกแดดมีไว้เพื่อใช้ทำอะไร แต่เรียกได้ว่าหลักการนี้นั้นมีมานานมากๆ แล้วล่ะ
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก undubzapp.com