สารอาหารที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดแดง (RBC)

ในวันที่คุณรู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้า ปวดหัวตุบๆ หายใจถี่หรือหายใจขัด ใจสั่นและหนาว ผิวและเหงือกซีด
ให้คุณรู้ไว้เลยนี้คืออาการของโลหิตจางที่มีจำนวนเม็ดเลือดต่ำในระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย

สารอาหารที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดแดง (RBC)
เหล็ก: เป็นสารอาหารที่มีการเชื่อมโยงมากที่สุดที่จะเป็นตัวชี้วัดโรคโลหิตจาง
ร่างกายใช้ธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบินซึ่งจับและเก็บออกซิเจนไว้ในเซลล์เม็ดเลือด
หากไม่มีธาตุเหล็กจะทำให้เม็ดเลือดแดง (RBC) อาจสลายหรือไม่สามารถส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกายได้

อาหาร
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/breads-cereals-oats-barley-wheat-1417868/

แหล่งอาหารสำหรับธาตุเหล็ก ได้แก่
● ธัญพืช เช่น ถั่วขาว ถั่วลูกไก่
● ผัก เช่น ผักขม มันฝรั่งอบพร้อมเปลือก
● อาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน หอยต่างๆ เช่น หอยนางรม
● เต้าหู้
● เนื้อวัว
● เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ

วิตามิน B12  มีความสำคัญต่อการทำงานของสมองและการสร้างเม็ดเลือดแดง (RBC)
การขาดวิตามิน B12 สามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของเม็ดเลือดแดง (RBC) ผิดปกติที่เรียกว่า Megaloblasts
(ข้อบกพร่องในการเจริญเติบโตของสารตั้งต้นของเซลล์เม็ดเลือดแดง) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะที่แพทย์ เรียกว่า
“โรคโลหิตจาง Megaloblastic”

แหล่งอาหารสำหรับวิตามิน B12 ได้แก่
● เนื้อปลาแซลมอน หรือปลาเนื้อแดง หอย
● ผลิตภัณฑ์จากนม หรือชีส

วิตามิน B9: หรือ กรดโฟลิคหรือโฟเลต เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับระบบประสาทและต่อมหมวกไต
โฟเลตยังช่วยสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกาย และหากร่างกายมีในระดับต่ำจะส่งผลให้เป็นโรคโลหิตจางได้

แหล่งอาหารสำหรับวิตามิน B9
● ธัญพืช เช่น ตะกูลถั่ว ถั่วดำหรือถั่วทรงไต ขนมปังโฮลวีต
● ผัก เช่น ผักโขม ผักกาดมัสตาร์ด หน่อไม้ฝรั่ง
● ผลไม้ เช่น ส้มหรือน้ำส้ม
● เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ

วิตามินซี: มีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
เหล็กจะเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดแดง (RBC) ที่ร่างกายจะสร้างขึ้นมา

อาหาร
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/smoothies-fruits-colorful-vitamins-2253423/

แหล่งอาหารสำหรับวิตามินซี
● ผัก เช่น พริกแดงและเขียว บร็อคโคลี มะเขือเทศ มันฝรั่งอบ
● ผลไม้ เช่น ส้ม กีวี่ น้ำเกรพฟรุต
● สารอาหารเสริม เช่น วิตามินซีสังเคราะห์

ทองแดง: เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ธาตุเหล็กในเซลล์เม็ดเลือดแดง (RBC) ได้เต็มที่
หากทองแดงในร่างกายไม่เพียงพอ จะทำให้คุณมีปัญหาในการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง (RBC)

แหล่งอาหารสำหรับทองเแดง
● ธัญพืช เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดงา ถั่วลูกไก่
● ผัก เช่น เห็ด
● ผลไม้ เช่น อะโวคาโด
● เต้าหู้
● อาหารทะเล เช่น หอยนางรมและปู
● เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ

อาหาร
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/power-copper-rich-food-oysters-beef-1348503/

วิตามินเอ
เรตินอลหรือวิตามินเอเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC) ได้เหมือนกับทองแดง
และช่วยให้เซลล์ดูดซับธาตุเหล็กที่ร่างกายคุณต้องการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แหล่งอาหารสำหรับทองเแดง
● ผัก เช่น มันเทศ แครอท ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้าฝรั่ง มะเขือเทศ และผักขม บร็อคโคลี แครอท สควอซ
● ผลไม้ เช่น แคนตาลูป แอปริคอต และมะม่วง
● น้ำมันตับปลา
● อาหารทะเล เช่น ปลาแซลมอน
● เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
แหล่งที่มา www.pathlab.co.th

Stir Fried Gourami Fish with Chili Paste
อาหาร

ปลาสลิดผัดพริกแกง รสจัดจ้าน ทานได้เรื่อยๆ

ปลาสลิดผัดพริกแกง อาหารไทยอร่อยๆ ทำอย่างไร ให้อร่อย ปลา […]

อ่านต่อ ...
Steamed Eggs in Fresh Milk
อาหาร

ไข่ตุ๋นนมสด ไข่แบบนุ่มละมุน พร้อมรสกลมกล่อม

ไข่ตุ๋นนมสด อาหารแบบง่ายๆธรรมดา แต่ความอร่อยไม่เหมือนใค […]

อ่านต่อ ...
Stir Fried Crab with Black Pepper
อาหาร

ปูผัดพริกไทยดำ ผัดกระทะหอมๆ เครื่องเน้นๆ

ปูผัดพริกไทยดำ เมนูอาหารง่ายๆ สำหรับวันนี้ พร้อมเคล็ดลั […]

อ่านต่อ ...