สพฐ.รับมือเปิดเรียนช่วงโควิดยึดพื้นฐานความพร้อมของนักเรียนเป็นที่ตั้ง

เลขาธิการ กพฐ.ถกเตรียมความพร้อมรับมือเปิดภาคเรียนช่วงโควิด เผย กำหนดไว้ 5 รูปแบบให้เด็กเลือกเรียนรู้
โดยไม่สร้างภาระให้แก่ผู้ปกครอง เมื่อวันที่ 5 พ.ค.นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ว่า ที่ประชุมได้ซักซ้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ โดย สพฐ.ได้ประเมินความพร้อม
ร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)
ที่มีการกำหนดแบ่งโซนพื้นที่การควบคุม เพื่อสำรวจความพร้อมโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆว่าสามารถเปิดเรียนจริง
ในวันที่ 1 มิ.ย.ได้กี่แห่ง หรือโรงเรียนในพื้นที่ใดไม่สามารถเปิดเรียนได้จะต้องใช้วิธีการเรียนการสอนที่
สพฐ.กำหนดไว้ 5 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนผ่านระบบ online on site on air on hand และ on demand
มีทั้งหมดกี่แห่ง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสพฐ.จะยึดพื้นฐานความพร้อมของนักเรียนเป็นที่ตั้ง
โดยจะไม่มีการบังคับให้นักเรียนจะต้องเรียนในรูปแบบไหน แต่เด็กสามารถเลือกเรียนได้ตามความพร้อมของตัวเอง
เพื่อไม่ให้เป็นการกดดันหรือไปสร้างภาระให้แก่ผู้ปกครอง

การศึกษา

ดังนั้นโรงเรียนสามารถเลือกรูปแบบการเรียนได้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของนักเรียนแต่ละคน
เพราะ สพฐ.จะมีการถอดบทเรียนจากสถานการณ์โควิดช่วง 1 ที่ผ่านมาว่าการเรียนการสอนของเรา
มีจุดอ่อนจุดแข็งในด้านไหนบ้าง เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้สพฐ.จะจัดทำคลังสื่อความรู้แบ่งเป็นระดับปฐมวัย อนุบาล ประถมศึกษา
ไปจนถึงมัธยมศึกษา เพื่อให้โรงเรียนสามารถดึงแพลตฟอร์มต่างๆที่มีอยู่ในคลังข้อมูลไปใช้ต่อยอดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้
ขณะเดียวกัน น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ยังได้ประสานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ให้เข้ามาช่วยพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพด้วย
รวมถึงการเรียนผ่านระบบ On air จะประสานกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือดีแอลทีวี
ช่วยจัดตารางเรียนเสริมในการจัดการเรียนการสอน เชื่อมโยงกับการเปิดภาคเรียนใหม่ด้วย

โดยจะมีการจัดหาอุปกรณ์เสริมให้แก่นักเรียน เพื่อรองรับการเรียนทั้ง 5 รูปแบบดังกล่าว
ดังนั้นหากโรงเรียนใดพบนักเรียนไม่สามารถเรียนในรูปแบบ online onsite onair ได้ก็ให้มาเรียนแบบ Onhand
คือการนำบทเรียนและแบบฝึกหัดจากโรงเรียนมาเรียนรู้ที่บ้านแทน “การจัดการเรียนการสอนท่ามกลางวิกฤติโควิด-19
ในภาคเรียนนี้ สพฐ.จะไม่มุ่งสร้างภาระให้แก่ผู้ปกครอง แต่จะหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้เด็ก
อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดย รมว.ศธ.มีความห่วงใยนักเรียนทุกคน เพราะเมื่อมีการเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไป
จากกำหนดเดิมทำให้เด็กมีเวลาว่างมากขึ้น แต่จะทำอย่างไรให้เด็กไม่หยุดการเรียนรู้ ซึ่ง รมว.ศธ.จึงมีข้อสั่งการให้
สพฐ.สร้างกิจกรรมทางเลือกให้แก่นักเรียนให้เด็กเลือกเรียนตามความสมัครใจ เช่น ทักษะอาชีพ
การเรียนรู้ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น” นายอัมพร กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันพุธที่ 5 พฤษภาคม 2564

women
การศึกษา

คุรุสภา รุกพัฒนาวิชาชีพครู เพิ่มขีดความสามารถ

คุรุสภา รุกพัฒนาวิชาชีพครู จัดประชุมทางวิชาการออนไลน์ เ […]

อ่านต่อ ...
Ministry of Education violates the right to education of monks and novices
การศึกษา

ศธ.ละเมิดสิทธิการศึกษาพระ-เณร ออกระเบียบปิดกั้นนักบวช

ศธ.ละเมิดสิทธิการศึกษาพระ-เณร ออกระเบียบปิดกั้นนักบวชไม […]

อ่านต่อ ...
Learn to Earn
การศึกษา

Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด อยู่รอดด้วยทักษะชีวิต

Learn to Earn Gen Z ส่งต่อแรงบันดาลใจ ผ่านกิจกรรม ‘อยู่ […]

อ่านต่อ ...