วิตามินบี หรือ วิตามินบีรวม ที่เรารู้จักมักคุ้นกันในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
วิตามินบีนั้นมีอยู่หลายชนิด และต่างก็มีประโยชน์และผลข้างเคียงที่ต่างกันออกไป
โดยวิตามินบีแต่ละตัวจะทำงานเสริมซึ่งกันและกัน ต้องรับประทานร่วมกัน
จึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแยกรับประทาน
สำหรับชนิดต่าง ๆ ของวิตามินบีรวมนั้นก็ได้แก่
วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 7 วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 วิตามินบี 15
วิตามินบี 17 และยังรวมไปถึง ไบโอติน โคลีน พาบา อิโนซิทอล อีกด้วยที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม
วิตามินบี ประโยชน์ของวิตามินบีรวม (ทั้งหมด 13 ชนิด)

1. วิตามินบี 1 (ไทอะมีน)
วิตามินบี 1 หรือ ไทอะมีน มีชื่อเรียกว่า “วิตามินเสริมขวัญและกำลังใจ” เพราะมีส่วนช่วยบำรุงประสาท
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ผัก โฮลวีต ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี
บริเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน
2. วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)
วิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน มีอีกชื่อว่า วิตามินจี (Vitamin G)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต
3. วิตามินบี 3 (ไนอะซิน)
วิตามินบี 3 หรือ ไนอะซิน สำหรับชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ไนอะซินาไมด์, กรดนิโคตินิก, นิโคตินาไมด์
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก ตับ โฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง
อะโวคาโด อินทผลัม ลูกพรุน มะเดื่อฝรั่ง บริเวอร์ยีสต์
4. วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ตับ ไต หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว
กากน้ำตาลไม่บริสุทธิ์ บริเวอร์ยีสต์
5. วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน)
วิตามินบี 6 หรือ ไพริด็อกซิน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกันของกลุ่มสารที่มีโครงสร้างคล้ายกันและทำงานร่วมกัน
ซึ่งประกอบไปด้วย ไพริด็อกซิน ไพริด็อกซาล และไพริด็อกซามีน
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
วอลนัต กะหล่ำปลี กากน้ำตาล แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา
6. วิตามินบี 7 (ไบโอติน)
วิตามินบี 7 (Biotin) หรือ วิตามินเอช เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งมีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบและจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ตับวัว ไข่แดง นม แป้งถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสง บริเวอร์ยีสต์ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
7. วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก)
วิตามินบี 9 หรือ กรดโฟลิก (โฟเลต,โฟลาซิน) หรือรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็มหรือวิตามินบีซี (BC)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แคร์รอต แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ทิโชก
ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์
8. วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)
วิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) มีอีกชื่อที่รู้กันดีคือ วิตามินแดงหรือไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์เป็นหลัก ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง เป็นต้น
ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 2 ไมโครกรัม
9. วิตามินบี 15 (กรดแพงเกมิก)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี บริเวอร์ยีสต์
10. วิตามินบี 17 หรือ อะมิกดาลิน (Amygdalin) หรือ เลไทรล์ (Laetrile)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เมล็ดพืชโดยเฉพาะเมล็ดเอพริคอต และยังมีเมล็ดอื่น ๆ อีก เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดพลับ
เมล็ดถั่วอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ข้าว ถั่ว รวมไปถึงถั่วแมคาเดเมีย
11. พาบา (กรดพารา-แอมิโนเบนโซอิก)
พาบา (PABA) หรือ กรดพารา-แอมิโนเบนโซอิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ตับ ไต ข้าว รำข้าว จมูกข้าวสาลี ธัญพืชไม่ขัดสี กากน้ำตาล บริเวอร์ยีสต์
12. โคลีน (Choline)
เป็นหนึ่งในสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ หัวใจ สมอง ตับ ปลา ผักใบเขียว ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง
ถั่วลิสง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
13. อิโนซิทอล (Inositol)
อิโนซิทอล (Inositol) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ตับ สมองและหัวใจวัว จมูกข้าวสาลี กากน้ำตาล ถั่วลิสง ถั่วลิมาแห้ง ลูกเกด แคนตาลูป
เกรปฟรุต กะหล่ำปลี บริเวอร์ยีสต์