อาถรรพ์ “เพชรโฮป (Hope Diamond)” เริ่มมาจากเมื่อ พ่อค้าชาวฝรั่งเศส ที่ชื่อ จอง แบปทิส ทาเวอร์เนีย ได้ซื้อเพชรดิบน้ำหนัก 112 3/16 กะรัต จากเหมืองคอลเลอ เมืองกอลคอนดา ประเทศอินเดีย แล้วนำมาถวายแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในปี ค.ศ. 1668
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้มีบัญชาให้ช่างเพชรแห่งราชสำนักเจียระไนเพชรเม็ดนี้ขึ้น โดยให้ชื่อว่า “Blue Diamond of the Crown” หรือ “French Blue”
ซึ่งนำไปตกแต่งบนสายสะพายเครื่องอิสริยาภรณ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อมาเพชรเม็ดนี้ได้ตกทอดมาสู่ พระนางแมรี่ อังตัวเนตต์ ซึ่งภายหลังจากเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ เพชรเม็ดนี้ได้สูญหายไป
จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1830 เฮนรี่ ฟิลิป โฮป ได้ซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ และหลังจากนั้นเขาก็ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1839 ทำให้เพชรแห่งความหวังตกทอดไปสู่ญาติพี่น้องตระกูลโฮป
ในปี ค.ศ.1906 เพชรเม็ดดังกล่าวได้ผ่านไปอยู่ในมือของ จาคส์ เซลอท ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพชรชาวเปอร์เซีย ซึ่งต่อมาเขาได้กระทำอัตตวินิบาตกรรม
เจ้าของคนถัดมาคือ เจ้าชาย คานิตอฟกี แห่งรัสเซีย ทรงซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ และมอบให้แก่นางสนมชาวฝรั่งเศส เพื่อใส่ไปแสดงละครที่ฟัวเยร์เบอร์เกร์
แต่ขณะที่เธอกำลังแสดงอยู่นั้นเจ้าชายก็ทรงปลิดชีพเธอด้วยอาวุธปืน และอีกสองวันต่อมาพระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์โดยผู้ปฏิวัติชาวรัสเซีย
เจ้าของคนต่อมาเป็นชาวอียิปต์ที่ต้องจมน้ำตายทั้งครอบครัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือสำราญชนกันที่สิงคโปร์
นายหน้าคนต่อมาได้นำเพชรเม็ดนี้ไปขายให้กับสุลต่านแห่งตุรกี และนายหน้าคนดังกล่าวก็ต้องตายพร้อมภรรยาและลูกจากอุบัติเหตุรถยนต์ตกหน้าผา
และสุลต่านแห่งตุรกีทรงมอบเพชรเม็ดนั้นให้แก่พระสนม แต่ตอนที่ถูกทหารของพระองค์กระทำรัฐประหารนั้นเอง กระสุนปืนได้พลาดไปถูกหล่อนจนถึงแก่ความตาย
ส่วนสุลต่านถูกเนรเทศและขันทีผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาเพชรเม็ดดังกล่าวก็ถูกจับแขวนคอ
จากนั้นบริษัทคาร์เทียร์เป็นผู้รับซื้อเพชรโฮปเม็ดนั้นไว้ แล้วนำไปขายต่อให้กับ ครอบครัวแมคลีน
อาถรรพ์ที่เกิดกับพวกเขาก็คือบุตรชายวัยแปดขวบของพวกเขาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชน บุตรสาวและหลานสาวของพวกเขา ก็ตายเนื่องจากใช้ยาบาบิตูเรตเกินขนาด
ส่วน เอ็ดเวิร์ด แมคลีน มีอาการคลุ้มคลั่ง วิกลจริต และเสียชีวิตในโรงพยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่ง
ในที่สุด แฮรี่ วินสตัน ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจได้ที่ have-a-look.net ซึ่งเป็นพ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮป และได้มอบให้แก่สถาบัน สมิธโซเนียน ในกรุงวอชิงตัน ดีซี
ซึ่งดูเหมือนคำสาปแช่งจะยุติลงเพียงแค่นั้น อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางจดหมายจำนวนนับพันๆ ฉบับที่ส่งมาขอบคุณในการบริจาคของเขาครั้งนั้น
ขอบคุณแหล่งที่มา www.mthai.com