ผู้ก่อการร้าย ในความหมายที่กว้างที่สุดคือการใช้ความรุนแรงโดยเจตนาเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมือง คำนี้ถูกใช้เพื่ออ้างถึงความรุนแรงในช่วงเวลาสงบหรือในบริบทของการทำสงครามกับผู้ที่ไม่ได้ต่อสู้ คำว่า “ผู้ก่อการร้าย” และ “การก่อการร้าย” เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 แต่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับสากลและได้รับความสนใจไปทั่วโลกในปี 1970 ในช่วงความขัดแย้งของไอร์แลนด์เหนือประเทศบาสก์และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล – ปาเลสไตน์ การใช้การโจมตีฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นจากทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาได้รับการตรึงตราโดยการโจมตี 11 กันยายนในนิวยอร์กซิตี้และวอชิงตันดีซีในปี 2544
หลังขับรถออกจากเมืองมาซอาร์เอชแออีฟ (Mazar-e-Sharif) ซึ่งอยู่ทางเหนือของอัฟกานิสถานไปราว 30 นาที เราพบกับหะยี เฮคแมต นายกเทศมนตรีเงา (shadow mayor) ในเขตบาล์คห์ ซึ่งเป็นพื้นที่อิทธิพลของกลุ่มตาลีบัน
ตัวเขาฟุ้งไปด้วยน้ำหอม โพกหัวด้วยผ้าสีดำ เขาเป็นสมาชิกอาวุโสของตาลีบัน เข้าร่วมกับกลุ่มติดอาวุธนี้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 ตอนที่พวกเขายังควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้อยู่
กลุ่มชายติดอาวุธที่ยืนอยู่สองฟากถนนแสดงให้เราเห็นว่าพวกเขาพร้อมสู้รบแค่ไหน คนหนึ่งถือเครื่องยิงจรวด (RPG) อีกคนถือปืนยาว เอ็ม 4 คาร์บิน ซึ่งยึดมาจากกองทัพสหรัฐฯ ได้ เขตบาล์คห์เคยเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างสงบของประเทศ แต่ตอนนี้กลับเป็นพื้นที่ที่มีความรุนแรงมากที่สุดแห่งหนึ่ง
บาร์ยาไล เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังในพื้นที่ที่ได้ชื่อว่าดุดัน เขาชี้ไปทางถนนและบอกว่า “กองกำลังของรัฐบาลอยู่แค่ตรงนั้น ข้าง ๆ ตลาดหลัก แต่พวกเขาไม่สามารถออกมาจากฐานที่ตั้งได้ ดินแดนนี้เป็นของพวกนักรบมูจาฮีดีน”
นี่สะท้อนถึงภาพใหญ่ของเกือบทุกที่ในประเทศ รัฐบาลควบคุมพื้นที่ในเขตเมือง ส่วนตาลีบันรายล้อมอยู่รอบนอก ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในหลายพื้นที่ในชนบท
“เราชนะสงคราม อเมริกาแพ้แล้ว” หะยี เฮคแมต กล่าวขณะนั่งจิบชาเขียว แม้ว่าการตัดสินใจถอนทัพของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่เลื่อนออกไปเป็นเดือน ก.ย. จะช้ากว่ากำหนดที่ตกลงกันไว้เมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ดูเหมือนเป็นฝ่ายกลุ่มตาลีบันที่ได้เปรียบ
“เราพร้อมแล้วสำหรับทุกอย่าง” หะยี เฮคแมต ว่า “เราพร้อมเต็มที่สำหรับสันติภาพ และเราพร้อมเต็มที่สำหรับสงครามจีฮัด”
ผู้การทหารที่นั่งอยู่ข้างเขาพูดเสริมขึ้นมาว่า “จีฮัดเป็นการกระทำเพื่อการบูชา การบูชาเป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะทำมากแค่ไหน คุณก็จะไม่เหน็ดเหนื่อย”
ในช่วงปีที่ผ่านมา การปฏิบัติตามแนวคิดการทำจีฮัดของกลุ่มตาลีบันดูจะขัด ๆ กันอยู่ พวกเขาไม่โจมตีกองกำลังของต่างชาติหลังจากลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ยังสู้กับรัฐบาลอัฟกานิสสถานต่อ แต่หะยี เฮคแมต บอกว่าไม่มีอะไรที่ขัดกันทั้งนั้น
“เราอยากได้รัฐบาลอิสลามที่ปกครองด้วยกฎหมายชารีอะห์ เราจะทำสงครามจีฮัดต่อไปจนกว่าพวกเขาจะรับข้อเรียกร้องของเรา”
เมื่อถามว่าตาลีบันจะยอมแบ่งอำนาจให้กับกลุ่มการเมืองอื่น ๆ ในอัฟกานิสถานหรือไม่ หะยี เฮคแมต บอกว่าต้องรอการตัดสินใจจากผู้นำของพวกเขาในประเทศกาตาร์
ตาลีบันไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นกลุ่มกบฏติดอาวุธ แต่เป็นรัฐบาลที่รอจะปฏิบัติหน้าที่ โดยเรียกตัวเองว่า เอมิเรตอิสลามแห่งอัฟกานิสถาน (Islamic Emirate of Afghanistan)
พวกเขามีระบบบริหารจัดการแบบ “เงา” ที่ซับซ้อน มีฝ่ายทางการดูแลในพื้นที่ที่พวกเขาควบคุมไว้ได้ อย่างเช่น หะยี เฮคแมต ที่เป็นนายกเทศมนตรีเงา
เขาพาเราไปที่โรงเรียนประถมในพื้นที่ที่เด็กทั้งชายและหญิงกำลังเขียนลงในสมุดที่ได้รับบริจาคจากสหประชาชาติ โรงเรียนแห่งนี้สนับสนุนให้ผู้หญิงเรียนหนังสือแม้ว่าในอดีตกลุ่มตาลีบันห้ามไม่ให้ผู้หญิงเรียน
“ตราบใดที่พวกเขาสวมฮิญาบ เป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาต้องเรียนหนังสือ” มาวลาววี ซาเลอฮูดีน ผู้ดูแลด้านการศึกษาในพื้นที่ของกลุ่มตาลีบันกล่าว
แหล่งข่าวในพื้นที่บอกกับบีบีซีว่าตาลีบันสั่งยกเลิกชั้นเรียนศิลปะและเนื้อหาเกี่ยวกับสัญชาติออกจากหลักสูตรและให้เรียนเรื่องศาสนาอิสลามแทน
รัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินเดือนบุคลากรแต่กลุ่มตาลีบันเป็นผู้ควบคุมทุกอย่าง โดยนี่เป็นระบบผสมที่ใช้ไปทั่วประเทศ
ที่คลินิกสุขภาพในบริเวณใกล้เคียงก็เช่นเดียวกัน ตาลีบันอนุญาตให้ผู้หญิงมาทำงานได้ แต่ต้องมีผู้ติดตามที่เป็นผู้ชายคอยคุมตอนกลางคืนด้วย ส่วนคนไข้ผู้ชายและผู้หญิงต้องอยู่แยกกัน ที่คลินิกนี้มีอุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิดและข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัววางไว้แจกจ่าย
เห็นได้ชัดว่ากลุ่มตาลีบันอยากให้เราเห็นพวกเขาในเชิงบวก ขณะขับรถ หะยี เฮคแมต ชี้ให้ดูกลุ่มเด็กนักเรียนผู้หญิงอย่างตื่นเต้น ดูภูมิใจว่านี่เป็นสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิดไว้
ขณะขับรถไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตบาล์คห์ เราเห็นผู้หญิงเดินไปมาอย่างอิสระ และไม่ใช่ทุกคนที่สวมชุดบูร์กาที่ครอบคลุมทั้งหน้าและร่างกายทั้งหมด แต่ที่ตลาดนัดในพื้นที่ เราไม่เห็นผู้หญิงเลยสักคน
ขณะเราเดินทางไปไหนมาไหน มีสมาชิกกลุ่มตาลีบันติดตามไปด้วยตลอด และคนในพื้นที่ที่เราคุยด้วยต่างก็บอกว่าสนับสนุนกลุ่มตาลีบันและขอบคุณที่พวกเขาช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงและทำให้อาชญากรรมลดน้อยลง
คนในพื้นที่ห่างไกลมักมีค่านิยมใกล้เคียงกับของกลุ่มตาลีบันที่มีความอนุรักษ์นิยมอย่างสุดโต่ง แต่คนในเขตเมืองกังวลว่ากฎเคร่งครัดแบบ “อมิเรตอิสลาม” แบบช่วงทศวรรษ 1990 จะถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่
ในเวลาต่อมา คนในพื้นที่คนหนึ่งบอกกับเราโดยไม่ขอเปิดเผยชื่อจริงว่า จริง ๆ แล้ว พวกตาลีบันเคร่งครัดกว่าที่พูดให้สัมภาษณ์กับบีบีซีมาก เขาบอกว่ามีชาวบ้านถูกตบและซ้อมเพียงเพราะโกนเครา หรือวิทยุถูกทุบทิ้งเพราะว่าฟังเพลง
“ผู้คนไม่มีทางเลือกนอกจากทำตามที่พวกเขาบอก” เขาบอกกับบีบีซี “พวกเขาใช้กำลังแม้กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้คนรู้สึกหวาดกลัว”
ดูเหมือนว่ากลุ่มตาลีบันจะตั้งใจทำให้คลุมเครือว่าจริง ๆ แล้ว “รัฐบาลอิสลาม” ที่พวกเขาอยากจะสร้างคืออะไรกันแน่ นักวิเคราะห์มองว่านี่เป็นทางวิธีประนีประนอมระหว่างสมาชิกที่มีแนวคิดค่อนข้างสายกลางกับฝ่ายที่สุดโต่ง
ที่ผ่านมา กองกำลังสหรัฐฯ มีส่วนสำคัญในการชะลอการรุกคืบของกลุ่มตาลีบันในประเทศ และการเตรียมถอนตัวของสหรัฐฯ ล่าสุดทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าตาลีบันจะพร้อมเข้ายึดอำนาจประเทศ
หะยี เฮคแมต รังเกียจรัฐบาลอัฟกานิสถาน โดยบอกว่าทั้งทุจริตคดโกงและ “ไม่อิสลาม”
ยากที่จะเห็นคนเช่นเขาจะยอมประนีประนอมกับกลุ่มก้อนการเมืองอื่น ๆ ในประเทศได้ นอกเสียจากว่าจะทำตามเงื่อนไขของพวกเขา
“นี่คือจีฮัด” เขากล่าว “มันคือการบูชา เราไม่ได้ทำมันเพื่ออำนาจแต่เพื่ออัลเลาะห์และกฎของพระองค์ ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจได้ที่ have-a-look.net เพื่อนำกฎหมายชารีอะห์มาสู่ประเทศนี้ ใครก็ตามที่ยืนขวางเรา เราจะสู้กับพวกเขา”
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก www.bbc.com